รู้จักกับการ์ดหน่วยความจำหรือ Memory Card

ในปัจจุบันที่เป็นยุคที่ต้องการความสะดวกสบายรวดเร็วทำให้เทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้มีการพัฒนาไปเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ, กล้องถ่ายรูป, กล้องถ่ายวีดีโอ ฯลฯ เพื่อมาตอบสนองความต้องการของคนเรา โดยเฉพาะการถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ ที่มีความละเอียดสูงเพื่อให้ได้ถ่ายที่ชัดขึ้น และสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับอุปกรณ์เหล่านี้คือ “หน่วยความจำ” เพื่อมาเก็บ รูปถ่ายหรือวีดีโอของเรา ซึ่งมีหน่วยความจำเองก็มีหลายชนิด และชนิดที่เรารู้จักกันดีคือ memory card
Memory card คืออะไร?

Memory Card ก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ semiconductor ประเภทหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลได้ไม่ต้องใช้งานแบตเตอรี่ โดยข้อมูลทุกอย่างก็จะไม่สูญหายไปไหน เมมโมรี่การ์ดเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูงโดยส่วนที่สำคัญและเป็นส่วนที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลต่างๆในเมมโมรี่การ์ดก็คือ Silicon chips ชิปนี้สามารถที่จะควบคุมการบันทึกข้อมูล การอ่านและเขียนข้อมูลได้ด้วยตัวเอง และmemory card เองก็แบ่งเป็นประเภทคร่าวๆได้ดังนี้
ประเภทของ Memory Card
1. SmartMedia Card (SMC)
สมาร์ทมีเดียการ์ด ( Smart Media Card ) เรียกสั้นๆ ว่า SMD ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1995 โดยบริษัท Toshiba มีขนาดรูปร่างที่บาง เพียง 0.2 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นการ์ดหน่วยความจำที่มีความเล็กและบางมากที่สุดในสมัยนั้น และมีการพยายามลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้มีราคาที่ไม่แพง แต่อย่างไรก็ตามสมาร์ทมีเดียการ์ดนี้ยังมีข้อเสียตรงที่ ไม่มีไดรเวอร์ในตัว จึงทำให้ไม่สามารถขยายขนาดความจุให้เพิ่มมากเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ และเพราะเหตุนี้ทำให้ SDM ต้องใช้กับอุปกรณ์ที่รองรับ

2. xD Card (xD-Picture Card) xD Card นั้นผลิตออกมาเพื่อเน้นนำไปใช้กับกล้องดิจิตอลยี่ห้อ Olympus,Fujifilm และ Kodak โดยขนาดความจุของ xD Card นั้นก็มีตั้งแต่ 16,32,64,128,256,512MB และ 1GB ซึ่งถ้าหากเป็นขนาดความจุ 16 และ 32MB จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 5Mbps และความเร็วในการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 1.8Mbps ส่วน xD Card ที่มีขนาดความจุ 64, 128, 256 และ 512MB จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 5Mbps และความเร็วในการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 3Mbps สุดท้ายหากเป็น xD Card ที่มีขนาดความจุ 1GB ก็จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 4Mbps และความเร็วในการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 2.5Mbps

ในปี 2005 ได้มี xD Card ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่ผลิตออกมาคือ xD Card Type M ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมแบบ MLC (Multi Level Cell) ทำให้มีขนาดความจุของข้อมูลเพิ่มขึ้นได้มากกว่าขีดจำกัดเดิม (512MB) และในทางทฤษฎี xD Card Type M นี้จะสามารถขยายขนาดความจุได้สูงสุดถึง 8 GB แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็มีการผลิตอย่างมากก็เพียงแค่ขนาด 1GB เท่านั้น และความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลนั้นช้ากว่า xD Card ขนาดความจุ 512MB ตั้งแต่เรื่องของขนาดความจุสูงสุดที่น้อยเมื่อเทียบกับการ์ดหน่วยความจำประเภทอื่น, มีขนาดความจุสูงสุดทางทฤษฎีที่น้อยเมื่อเทียบกับการ์ดหน่วยความจำประเภทอื่น, มีราคาที่แพงเมื่อเทียบกับการ์ดหน่วยความจำประเภทอื่น และความแพร่หลายในการใช้งานหรือ อุปกรณ์ที่ผลิตออกมารองรับ เช่นกล้องดิจิตอล หรืออุปกรณ์ต่างๆ ยังน้อยกว่าการ์ดหน่วยความจำประเภทอื่น
3. SmartMedia Card (SMC) CompactFlash Card นั้นมักจะถูกนำมาใช้กับกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพมากเป็นพิเศษ และมีจุดเด่นในเรื่องของราคาที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับขนาดความจุที่ได้มา และเมื่อเทียบกับการ์ดหน่วยความจำประเภทอื่นๆ ในเรื่องของอายุการใช้งาน และโดยทั่วไป CompactFlash Card นั้นจะเน้นในเรื่องของขนาดความจุมากกว่าขนาดรูปร่างของตัวมันเอง นอกจากนั้น CompactFlash Card ยังสามารถนำมาใช้งานได้โดยตรงกับสล็อตของ PC Card หรือ PCMCIA Card ด้วยตัว Adapter และถึงแม้ว่าขนาดของ CompactFlash นั้นจะใหญ่กว่าการ์ดหน่วยความจำประเภทอื่นๆ แต่ก็สามารถทำให้ผู้ใช้งานประทับใจกับจุดนี้ได้ เนื่องจากส่งผลให้การ์ดหน่วยความจำประเภทอื่นๆ หลายประเภทสามารถนำมาใส่กับสล็อตของ CompactFlash ได้โดยตรงด้วยการใช้ตัว Adapter ไม่ว่าจะเป็น SD Card, MMC Card,

4. MMC Card (Multimedia Card)
MMC Card พื้นฐานการทำงานอยู่บน NAND-based Flash Memory ขนาดของ MMC Card นั้นค่อนข้างใกล้เคียงกับแสตมป์ไปรษณีย์ โดยมีความยาว 32 มิลลิเมตร, กว้าง 24 มิลลิเมตร และหนา 1.4 มิลลิเมตร ในยุคแรก MMC Card นั้นใช้ Interface ในการโอนถ่ายข้อมูลแบบ 1-bit Serial แต่ต่อมาในเวอร์ชันใหม่ จะสามารถโอนถ่ายข้อมูลได้ 4 bits หรือ 8 bits ในเวลาเดียวกัน MMC Card นั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะถูกแทนที่ด้วยการ์ดหน่วยความจำแบบ SD Card ในไม่ช้า แต่ที่ยังคงมีการใช้งาน MMC Card กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ก็เนื่องจาก MMC Card นั้นสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่รองรับ SD Card ได้ด้วย โดยอุปกรณ์ที่นำ MMC Card ไปใช้งานนั้นก็มักจะเป็นอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, เครื่องพีดีเอ, เครื่องเล่นเพลง MP3 หรือกล้องดิจิตอล ซึ่งในปัจจุบันขนาดความจุสูงสุดของ MMC Card ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปแล้วนั้นจะอยู่ที่ 128GB

5. SD Card (Secure Digital Card)
SD Card หรือ Secure Digital Card เป็นFlasmemory ประเภทหนึ่ง นั้นนิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กต่างๆ หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ, กล้องดิจิตอล หรือเครื่องพีดีเอ โดยที่ SD Card นั้นพัฒนาขึ้นมาอยู่บนพื้นฐานของการ์ดหน่วยความจำแบบ MMC Card โดยจะมีความกว้างและยาวเท่ากัน นั่นคือมีความยาว 32 มิลลิเมตร และกว้าง 24 มิลลิเมตร แต่จะมีความหนาที่มากกว่า MMC Card อยู่เล็กน้อย นั่นคือมีความหนา 2.1 มิลลิเมตร โดยทาง บริษัท Toshiba ได้เพิ่มความสามารถทางด้านฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เข้ารหัสข้อมูลเข้าไปในเทคโนโลยีเดิมของ MMC Card และยังใส่เทคนิคพิเศษที่เรียกว่า DRM (Digital Rights Management) ซึ่งเป็นตัวจัดการเกี่ยวกับเรื่องของลิขสิทธิ์ของข้อมูลมาให้ นอกจากนั้นที่ด้านข้างของ SD Card ยังมีสวิตช์ล็อคสำหรับป้องกันการเขียนข้อมูลทับเอาไว้ให้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม SD Card ก็ยังมีข้อเสียเปรียบ MMC Card อยู่บ้าง เช่นเรื่องของการสูญเสียพื้นที่ข้อมูลไปโดยเปล่าประโยชน์ กล่าวคือในกรณีของ SD Card ในทุกๆ 64MB จะมีอัตราการสูญเสียพื้นที่ข้อมูลไปประมาณ 1.5MB ในขณะที่ MMC Card ในทุกๆ 64MB จะมีอัตราการสูญเสียพื้นที่ข้อมูลไปเพียงประมาณ 0.5MB เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่างกันมากราวๆ 3 เท่าเลยทีเดียวและเนื่องจาก SD card เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยเห็นหรือใช้งาน SD card กันมาบ้าง ไม่ว่า พวกกล้องดิจิตอล , เครื่องเล่นเพลง MP3 , กล้องวีดีโอ และSD card ก็ยังแบ่งได้หลายแบบ ซึ่งการเลือก SD card ให้เข้ากับอุปกรณ์ของเรานั้นก็มีความสำคัญอย่างมาก โดยหลายคนคงเคยเจอกับเหตุการณ์ที่ ปุปกรณ์ยังใหม่แต่เลือก SD card ไม่เข้ากับเครื่อง ทำให้อุปกรณ์ของเรานั้นทำงายได้ไม่ปกติ อาจจะช้าบ้าง หรือบางครั้งทำให้เครื่องค้างไปเลยก็ได้ หรือบางคนเจอ SD Card ที่ใช้ ๆ กันอยู่นี้ ที่บางตัวความจุเท่ากันแต่อีกตัวแพงกว่า หรืออีกตัวความจุน้อยกว่า แต่ดันแพงกว่าตัวที่ความจุเยอะซะงั้น ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ SD Card มันมีการแบ่งสเปกให้เข้ากับการใช้งานนั้น ๆ ซึงหลายๆคนยังไม่รู้ ว่า ดูยังไง แบบไหนที่ควรใช้
แล้วจะเลือกยังไง ดูได้จากไหน?
หากเราสังเกตตาม SD card จะมีโลโก้ หรือสัญลักษณ์ มากมาย ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้เองจะเป็นตัวบ่งบอกถึงชนิด หรือความเร็วของตัว SD card

โดยประเภทของการ์ด ตามขนาดความจุ ของ Micro SD Card
1. SD = Standard Capacity (SD ความจุมากที่สุดอยู่ที่ 16 GB)
2. SDHC = Standard Capacity High Capacity (SDHC ความจุมากที่สุดอยู่ที่ 32 GB)
3. SDXC = Standard Capacity extended Capacity (SDXC ความจุมากที่สุดอยู่ที่ 2 TB)
Class ของเมมโมรี่การ์ดนั้น มีความหมายอย่างไร?
Class ของการ์ดนั้น มีความสำคัญมากเมมโมรี่การ์ดนั้น มีคลาสหลากหลาย Class 2, 4, 6 และ 10 บางคนอาจจะมองว่ามันไม่มีความหมาย โดยตัวเลขเหล่านี้มีความหมายถึงอัตราการส่งผ่านข้อมูลต่ำสุดของการ์ดนั้น ๆ เช่น การ์ด Class 2 อัตราการเขียนและอ่านข้อมูล อยู่ที่ 2 MB/s และการ์ด Class 10 อ่านเขียนอยู่ที่ 10 MB/s
U คืออะไร? แล้ว UHS ล่ะ มีผลอย่างไรต่อ microSD card?
U นั้นเป็นหน่วยวัดความเร็วของ SD Card แบบใหม่ หมายถึงประสิทธิภาพในการอ่านเขียนหรือบันทึกข้อมูลที่มีความเร็วสูงขึ้นไปอีก มีชื่อเรียกว่า UHS (Ultra High Speed)
- โดยเลข 1 เหมาะสำหรับใช้งานบันทึกวีดีโอความละเอียดสูง ระดับ Full HD ขึ้นไป มีความเร็วในการเขียนขั้นต่ำที่ 10MB/s (เมกะไบต์ต่อวินาที)
- เลข 3 เหมาะสำหรับบันทึกวีดีโอในระดับ 4K Ultra HD ขึ้นไป มีความเร็วในการเขียนขั้นต่ำที่ 30MB/s (เมกะไบต์ต่อวินาที)
และ “I” นั้นคือ Bus Speed : หน่วยวัดค่า Ultra-High Speed Bus หรือ UHS ของ U1 – U3 แบ่งเป็น UHS-I กับ UHS-II และในปัจจุบัน สมาคม SD Card หรือ SDA (SD Card Association) ได้ประกาศมาตรฐานใหม่ Video Speed Class หรือสัญลักษณ์ “V” นั้นเอง โดยมองว่า ในอนาคต จะมีการบันทึกวิดีโอความละเอียดสูงมากขึ้น จึงเอาชื่อ Video เป็นตัวตั้ง โดยวิดีโอความละเอียดสูงที่ว่าก็คือ 4K กับ 8K นั้นเอง รวมถึง การบันทึกวีดีโอแบบ 360 องศาด้วยสำหรับ Class V นั้น ตอนนี้ก็เริ่มมีให้เห็นบ้างแล้ว
ตอนนี้เราก็รู้จักกับสัญลักษณ์ต่างบน SD card กันไปแล้ว และหลาวนี้จะเป็นตัวอย่างการเลือก SD card ให้เข้ากับอุปกรณ์และรูปแบบการใช้งานของเรา
ดังนั้นเราจะสามารถจะสรุปคราวๆในการเลือก การ์ดหน่วยความจำ microSD ดังนี้
1. เลือกความจุที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เอาไว้เก็บเอกสาร เก็บรูป เก็บวีดีโอ หรือเอาไว้ลงแอพพลิเคชั่น มากน้อยแค่ไหน? เราต้องเลือกให้เหมาะสม
- หากใช้เก็บภาพถ่ายทั่วไป ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เพลง อาจใช้การ์ดประเภท SD หรือ SDHC 4GB – 16GB Class 6 ก็เพียงพอ
- หากเอาไว้สำหรับบันทึกรูป, เพลง และ วีดีโอ ถ้าเป็นวีดีโอแบบ FULL HD แนะนำอย่างยิ่งที่ SDHC 16GB – 32GB Class 10 ไปเลยคะ
- ถ้าหากอุปกรณ์ของเราเป็นระดับ hi-end สนับสนุนการบันทึกวีดีโอในระดับ 4K Ultra HD ควรเลือกใช้การ์ดประเภท SDXC ที่มีตัวเลขคลาสสูงๆเพื่อความรวดเร็วในการบันทึกไฟล์และถ่ายโอนข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญคือ ยิ่งการ์ดมีความจุสูง ก็จะใช้เวลาในการอ่านหรือบันทึกนานขึ้น
2. ตรวจสอบดูว่า ยี่ห้อสินค้า หรือ ผู้ผลิต โดยเช็คได้ที่เว็บนี้ SDcard.org ถ้าสินค้าที่คุณกำลังเลือกซื้อ ไม่มีรายชื่ออยู่ใน List ไม่ควรซื้อ เนื่องจากการผลิตในคุณภาพต่ำ, ลดระดับหน่วยความจำลง หรือความเร็วในการรับ – ส่ง ข้อมูลทำได้ช้า บางทีอาจจะทำความเสียหายให้กับอุปกรณ์ได้
3. ตรวจสอบว่าตองเป็นของใหม่ เลือกร้านที่น่าเชื่อถือ ไม่ควรซื้อ microSD Card มือสอง
4.ตรวจสอบกล่องหรือการหีบห่อให้ดี ว่าไม่มีการแกะพลาสติกที่หุ้มหรือกล่องที่เปิดมาแล้ว หากมีเครื่องหมายการันตีว่ารับประกันสินค้าด้วยยิ่งดี
ตัวอย่างการเลือก SD card ไม่เหมาะกับอุปกรณ์
- วิดีโอไม่สมบูรณ์ – กล้องวิดีโออาจจัดทำไฟล์วิดีโอที่ไม่สมบูรณ์หากความเร็วการ์ดต่ำเกินไปหรือกล้องอาจดาวน์เกรดวิดีโอให้เหมาะสมกับความเร็วของการ์ด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อวิดีโอ full 1080p HD ให้เป็นวิดีโอที่มีความละเอียดต่ำกว่ามาก
- คลิปสั้นลง – หากกล้องมีความเร็วในการเขียนข้อมูลมากกว่าความเร็วของSD card กล้องจะหยุดชั่วคราวและคลิปวิดีโอจะหยุดลงเมื่อถึงจำกัดความเร็วของการ์ด
- การถ่ายภาพโหมดเบิร์ส – กล้องหลายตัวมีโหมดเบิร์สที่เมื่อกดหนึ่งครั้งจะมีการถ่ายภาพหลายภาพซ้ำ ๆ กัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บภาพการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว เช่น สัตว์เลี้ยงและเด็ก ๆ หากความเร็วในการเขียนข้อมูลของการ์ดช้าเกินไป ค่าโหมดเบิร์สจะไม่ทำงาน
บริษัท บริษัท อีคลาวด์เทค (ประเทศไทย) จำกัด ได้เริ่มนำเข้าทดสอบและพัฒนา ระบบ AI Vision อย่างจริงจังเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปสู่อนาคต สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ AI Vision ได้ตามทุกช่องทางของบริษัท
Line ID : @ecloudtec (มี@ด้านหน้าด้วย)
Fan Page : ecloudtec -Thailand
www.ecloudtec.com
support@ecloudtec.com
https://shopee.co.th/ecloudtecstore
Tel. 0-2029-9828 , 06-5726-4149