ปีหน้า 2561 จะเป็นปีสำคัญของวงการโทรคมนาคมไทยอีกครั้ง เมื่อ กสทช. ประกาศจัดประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ (คลื่นของ dtac ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายน 2561) ถือเป็นการประมูลครั้งสำคัญของ dtac ที่จะต้องทุ่มสุดตัว คว้าคลื่นมาครองให้จงได้
ในภาพรวม การประมูลครั้งนี้ถือเป็นภาคสุดท้ายของ “ไตรภาค” การประมูลคลื่นโทรคมนาคม ที่จะเป็นการปิดฉากความถี่ในระบบสัมปทานเดิม และเป็นการพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคของใบอนุญาตอย่างสมบูรณ์
ในโอกาสนี้เรามาย้อนดูการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมในไทยทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา
ภาคแรก: ประมูลคลื่น 2100MHz จุดเริ่มต้นของการประมูลคลื่นความถี่ในไทย
การประมูลคลื่นครั้งแรกของไทยเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2555 (ค.ศ. 2012) หรือเมื่อ 5 ปีก่อน หลัง กสทช. นำคลื่นย่าน 2100MHz จำนวน 45Mhz ที่ไม่เคยถูกใช้งานมาก่อนมาเปิดประมูล (จึงไม่มีปัญหาเรื่องการต่ออายุคลื่น) โดยมีบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ทั้ง 3 รายคือ AIS, dtac, True เข้าร่วมประมูลเพื่อเปิดให้บริการ 3G
ผลการประมูลจบลงตามความคาดหมาย เพราะทุกรายต่างประมูลคลื่น 15MHz ตามที่ตัวเองต้องการ ทำให้ราคาสุดท้ายขยับจากราคาตั้งต้นไม่มากนัก
การประมูลครั้งนี้ กสทช. แบ่งคลื่น 45MHz ออกเป็น 9 สล็อต (สล็อตละ 5MHz) โ